|
|
เปิดเวบเมื่อ |
02/05/2551 |
ปรับปรุงเวบเมื่อ |
29/08/2562 |
ผู้ชมทั้งหมด |
|
พระเครื่อง, พระเครื่องเอเซีย, ศูนย์พระเครื่อง, เว็บพระเครื่อง, ซื้อขายพระเครื่อง, พระเกจิอาจารย์, พระบูชา, พระพิฆเนศวร์, พระคเนศ, พระกริ่ง, พระกรุ, พระเนื้อผง, พระเนื้อดิน, พระเนื้อชิน, พระปิดตา, พระชัยวัฒน์, พระเชียงแสนสิงห์หนึ่ง, พระอุปคุต, พระยอดธง, พระเหรียญบูชา, พระสมเด็จ, หลวงปู่ทวด, องค์จตุคาม, หลวงพ่อเงิน, พระสังกัจจายน์, เจ้าแม่กวนอิม, เทพเจ้าจีน, ไฉ่ซิงเอี้ย, ท้าวเวสสุวรรณ, วัตถุมงคล, เครื่องรางของขลัง, ตะกรุด, ผ้ายันต์, คดงาช้าง, คดงาดำ, ของสะสม, ของที่ระลึก, เครื่องประดับ, จิวเวลรี่, สร้อย, กำไล, แหวน, จี้ประดับ, อัญมณีต่างๆ, ปิ่นเงินโบราณ, วัตถุโบราณ, เซรามิค, กาน้ำชา, โทรศัพท์โบราณ, ผ้าทอโบราณ, แสตมป์สะสม ฯลฯ
|
สินค้าทั้งหมด |
1147 |
|
|
|
|
 |
 |
 |
|
|
สินค้า/บริการ >> พระเหรียญบูชา (แยกแต่ละภาค) >> พระเกจิอาจารย์ภาคเหนือ >> พระเหรียญ มต. เสาร์ ๕ (ปี พ.ศ. ๒๕๓๗) หลวงพ่อเกษม เขมโก เนื้อเงิน
| พระเหรียญ มต. เสาร์ ๕ (ปี พ.ศ. ๒๕๓๗) หลวงพ่อเกษม เขมโก เนื้อเงิน รหัสสินค้า: 001747 โทรสอบถาม tine-wiye รายละเอียด:
พระเหรียญ มต. เสาร์ ๕ (ปี พ.ศ. ๒๕๓๗) หลวงพ่อเกษม เขมโก เนื้อเงิน
หลวงพ่อเกษม เขมโก (นามเดิม เจ้าเกษม ณ ลำปาง) เป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน พระเกจิเถราจารย์ทางด้านธุดงค์วัตร ปลีกวิเวก พุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปางและชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นพระเถราจารย์ ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของประเทศไทย และมีผู้มีความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน อีกทั้งท่านยังเป็นเจ้านายใน "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)" ที่ออกผนวชอีกด้วย
หลวง พ่อเกษม เขมโก เดิมมีนามว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง ประสูติ เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 เป็นบุตรใน เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ) รับราชการเป็นปลัดอำเภอ กับ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และเป็นราชปนัดดาในมหาอำมาตย์โท พลตรีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย
สมัย ตอนเด็กๆมีคนเล่าว่าท่านซนมากมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านปีนต้นบ่ามั่น(ต้น ฝรั่ง)เกิดผลัดตกจนมีแผลเป็นที่ศีรษะ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว 7 วันได้ลาสิกขาและท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งเมื่ออายุ 15 ปีและจำวัดอยู่ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ท่านได้ศึกษาด้านพระปรัยัติธรรมจนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ. 2474 และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีถัดมา โดยมี พระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า "เขมโก" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม โดยพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ได้ศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาแผนกนักธรรมที่สำนักวัดเชียงราย
พ.ศ. 2479 ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ท่านเรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษามคธได้ เป็นอย่างดี แต่ท่านไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์สูง ๆ เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรม ศาสดาเท่านั้น
เมื่อ สำเร็จทางด้านปริยัติธรรมแล้ว ท่านแสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนา จนกระทั่ง ท่านทราบข่าวว่ามีพระเกจิรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา คือ ครูบาแก่น สุมโน ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านได้ตามครูบาแก่น สุมโน ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวกและบำเพ็ญเพียรตามป่าลึก จนถึงช่วงเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราวท่านจึง ต้องแยกทางกับพระอาจารย์ และกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออก ก็ติดตามอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา
ต่อ มา เจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืน มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์ได้ประชุมกันเพื่อหาเจ้าอาวาสรูปใหม่และต่างลงความเห็นพ้องต้อง กันเห็นควรว่า พระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ท่านก็ห่วงทางวัดเพราะท่านเคยจำวัดนี้ ท่านเห็นว่าถือเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรง อยู่ จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน หลังจากนั้นท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสหลายครั้งเนื่องจาก ท่านอยากจะออกธุดงค์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ดังนั้น ท่านจึงออกจากวัดบุญยืนไปที่ศาลาวังทานพร้อมเขียนข้อความลาออกจากการเป็น เจ้าอาวาสไว้ด้วย
หลวง พ่อเกษม เขมโก เป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ยึดติดแม้แต่สถานที่ ท่านได้ปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ตลอดชนชีพ เป็นพระที่เป็นที่เคารพสักการะของคนในจังหวัดลำปางและทั่วประเทศ ท่านปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ ติดยึดในกิเลสทั้งปวง หลวงพ่อเกษม เขมโก มรณภาพ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อเวลา 19.40 น. ของวันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ซึ่งตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 2 ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจมายังหมู่สานุศิษย์ทั่วประเทศ ส่วนสรีระของท่านนั้นก็ยังความอัศจรรย์ด้วยเนื่องจากไม่เน่าเปื่อยเหมือน อย่างสังขารทั่วไป ทั้งยังเขียนป้ายบอกผู้ที่มาเคารพสรีระ ท่านด้วยว่าให้พนมมือไหว้ที่หน้าอกเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ต้องกราบแบบ เบญจางคประดิษฐ์อย่างศพของพระเถระทั่วไปนับว่าท่าน นั้นถือสมถะเป็นอย่างมาก
บทสวดบูชาหลวงพ่อเกษม เขมโก
โอกาสะ โอกาสะ อาจาริโย เมนาโถ ภัณเตโหตุ อายัสมา เขมโกภิกขุ
เมนาโถภัณเตโหตุ อาจาริยัง วันทามิหัง
สวดบูชาหรือรำลึกถึงหลวงพ่อแบบย่่อ
สังฆะรูปัง วันทามิหัง สังฆังนะมามิ
อาราธนาพระเครื่อง วัตถุมงคลของหลวงพ่อติดตัว
เขมกะภิกขุง อาราธนานัง วันทามิหัง (สวด ๓ จบ)
คาถาป้องกันอันตราย
นะโนนะ อันตรายา วินัส สันติ (สวด ๓,๕,๗ จบ)
ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจเกี่ยวกับพระเครื่องต่างๆ ได้ที่หน้าบทความ
NO. 781
สนใจติดต่อสอบถามบูชาพระเครื่อง
โทร. 081-4726519 / 081-4726668
*พระเครื่อง ทั่วไทย พระเครื่อง ทั่วทิศ
|
|
|